วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เคล็ดลับ ‘ดื่มน้ำ’ ได้สุขภาพ




สำหรับน้ำที่ดื่ม ไม่ควรเย็นจี๋ เพราะทำให้เส้นเลือดที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารหดตัวลง หากเป็นเช่นนั้นเซลล์จะปรับตัวและขยายตัวเพื่อดูดซึม ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการปรับอุณหภูมิก่อนดูดซึม จึงมักเกิดอาการจุกหน้าอกขณะกระหายน้ำ


นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ชี้ว่า การดื่มน้ำเย็นจัดมากเกินไปจะทำให้ขีดความสามารถในการทำงานของสมองลดลงทันที ส่งผลกระทบต่อการขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมอง ซึ่งน้ำเย็นจัดเพียงแค่แก้วเดียว ยังทำให้สภาพจิตใจของบางคนลดลงร้อยละ15


ส่วนการดื่มน้ำร้อนจัดก็ไม่ควร เพราะความร้อนของน้ำอาจทำลายเยื่อบุช่องปากและทางเดินอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค


การดื่มน้ำที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างการเล็กน้อย เช่น น้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ในระบบหมุนเวียนเลือดได้ทันที


โดยเฉพาะในหน้าหนาว ช่วงเวลาที่ควรดื่มน้ำ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำไว้ 3 ช่วงด้วยกัน ประกอบด้วย แก้วแรกของวัน ดื่มระหว่าง 05.00-07.00 น. จะช่วยการขับถ่าย ช่วงต่อไป คือ 15.00-17.00น. จะช่วยล้างกระเพาะปัสสาวะ และแก้วสุดท้ายของวัน ดื่มก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง ช่วยการนอนหลับที่ดี


ในแต่ละวัน ปริมาณน้ำดื่มที่ร่างกายต้องการของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไปตามน้ำหนักตัว ซึ่งมีวิธีคำนวณง่ายๆ ในสูตร น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หาญด้วย 2 แล้วคูณด้วย 2.2 และคูณด้วย 30 จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นปริมาณน้ำหน่วย c.c. ที่ควรดื่มในแต่ละวันนั่นเอง


อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำ ไม่ควรดื่มคราวละมากๆ เพราะจะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย โดยควรดื่มแบบค่อยๆ จิบ เซลล์ในร่างกายจะดึงน้ำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์





หลากสรรพคุณของ ‘โยเกิร์ต’


- คนที่ท้องเสียเป็นเพราะมีเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในลำไส้ แต่เชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตเกิดมาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดเลวทั้งหลาย การกินโยเกิร์ตจึงทำให้อาการท้องเสียของคุณทุเลาอย่างรวดเร็ว ทำให้ถ่ายน้อยลงหรือหยุดถ่าย


- โยเกิร์ตมีไขมันชื่อคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิก ช่วยป้องกันโรคหัวใจ


- โยเกิร์ตไขมันต่ำ 1 ถ้วย เป็นแหล่งรวมของสารอาหารถึง 11 ชนิด และแต่ละชนิดก็เป็นตัวแม่สำหรับร่างกายทั้งนั้น อย่างไอโอดีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 2 โปรตีน วิตามินบี 12 ทริปโทฟาน โพแทสเซียม โมลิปเดนัม สังกะสี และวิตามินบี 5 คนที่กินโยเกิร์ตเป็นประจำถึงได้อายุยืนแถมแข็งแรง


- ถึงแม้จะทำมาจากนม แต่โยเกิร์ตให้โปรตีนและแคลเซียมสูงกว่านมธรรมดา เพราะลำไส้ของเราย่อยนมไม่ได้ แต่สำหรับโยเกิร์ตกลับทำได้ชิลๆ เพราะในโยเกิร์ตมีกรดแลกติกที่จะช่วยย่อยแคลเซียมให้เล็กลง ทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้


- จุลินทรีย์ทั่วไปอาจทำร้ายร่างกายแต่แลคโตบาสิลัสในโยเกิร์ตเป็นจุลินทรีย์ ชนิดดีที่ ร่างกายต้องการ มันจะไปหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อ “เฮลิโคแบคเตอร์ เอชไพโลไร” ที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ ลดการอักเสบของลำไส้และไขข้อ แถมยังทำตัวเป็นนักปราบปรามจุลินทรีย์ที่จะทำให้คุณเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วงที่มีรอบเดือนผู้หญิงจึงควรทานโยเกิร์ตเป็นประจำ


- แคลเซียมสูงที่ได้จากโยเกิร์ตจะทำให้เป็นสาวกระดูกเหล็ก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ความดันสูง มะเร็งลำไส้ และยังกระตุ้นระบบเผาผลาญทำให้คุณผอมเองโดยไม่ต้องเหนื่อย


- ทำให้ปากสะอาด กำราบกลิ่นปากและโรคเหงือก


- เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย เพราะแบคทีเรียในโยเกิร์ตทำให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินเคและบีในลำไส้ได้ดีขึ้น


ที่มา : หนังสือพิมพ์ดิจิตอล Investor Station





วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Aviance "Radiance-C Serum"

เรเดียนซ์-ซี เซรั่ม (Radiance-C Serum)

เซรั่มวิตามินซีเข้มข้น (L-ascorbic Acid) ที่ผสานกับนวัตกรรมใหม่ล่าสุด Microsponge™ เทคโนโลยีสิทธิบัตรที่ช่วยคงคุณค่าวิตามินซีบริสุทธิ์เข้มข้น พร้อมนำส่งอย่างต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง เพื่อประสิทธิภาพในการฟื้นฟูผิวที่ถูกทำลายโดยมลภาวะและแสงแดด พร้อมทั้งช่วยให้ผิวนำวิตามินอีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงมาใช้ได้มากขึ้น ช่วยบำรุงให้ผิวเปล่งประกาย กระจ่างสดใส จุดด่างดำลดเลือน ปรับสีผิวให้เนียนสม่ำเสมอ สุขภาพผิวดียิ่งขึ้นพิสูจน์ด้วยตัวคุณเองใน 7 วัน
เซรั่มปรับสภาพผิวหน้า เสมือนดูแลผิวหน้ามาเป็นอย่างดี ขาวเนียนอมชมพูได้ภายใน 7 วัน ฟื้นฟูผิวหน้าอย่างเร่งด่วน ให้กลับมามีสุขภาพผิวหน้าที่ดีอีกครั้ง
ประสบการผู้เขียนBlog : เนื้อเซรั่ม นุ่ม หอมมาก ผลการใช้จะมา Update อีกทีนะคับ  

วิธีศึกษาชาติพันธุ์

ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=23&chap=5&page=t23-5-infodetail03.html
กลุ่มชาวเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม
กลุ่มชาวเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม
วิธีการศึกษาชาติพันธุ์

ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้ที่ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างจริงจัง และเป็นระบบ มักเป็นนักมานุษยวิทยา เนื่องจากสาขาวิชามนุษยวิทยา จะเน้นศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ แต่นักสังคมวิทยา และนักรัฐศาสตร์ จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์มากกว่า กล่าวได้ว่า วิธีการศึกษาทำได้หลายวิธี อาจเปรียบเทียบกันได้ ดังนี้

ชาติพันธุ์วิทยา (ethnology)

ตามความหมายของคณะกรรมการบัญญัติศัพท์สังคมวิทยาคือ การศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มมนุษยชาติ และบางครั้งเรียกว่า มานุษยวิทยาวัฒนธรรม วิธีการนี้เป็นวิธีการของนักมานุษยวิทยารุ่นแรกๆ ที่ต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มคน หรือกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างลึกซึ้งรอบด้าน ใช้เวลาศึกษาที่ยาวนานเพื่อให้ครอบคลุมทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง รายงานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ในลักษณะนี้เรียกว่า "ชาติพันธุ์วรรณนา" หรือ "ชาติพันธุ์พรรณนา"(ethnography) ซึ่งมักเป็นการรายงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชนดั้งเดิม หรือกลุ่มชนที่ไม่มีตัวหนังสือ

การศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม (cross-cultural comparison)

เมื่อมีการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ แล้ว ก็มีการศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อทำความเข้าใจวัฒนธรรมเชิงเปรียบเทียบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูการแพร่กระจายของวัฒนธรรม มากกว่าที่จะเปรียบเทียบว่าวัฒนธรรมใดเจริญกว่ากัน นักมานุษยวิทยายืนยันว่า สังคม วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ มีอัตลักษณ์เฉพาะที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และความจำเป็นของสังคมนั้นๆ ซึ่งไม่ควรที่จะเปรียบเทียบว่าวัฒนธรรมใดดีกว่ากัน หรือเจริญกว่ากัน การศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรมจึงเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในกระบวน การแพร่กระจายของวัฒนธรรม โดยไม่ได้เปรียบเทียบถึงความเจริญ

การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับชาติพันธุ์ในภูมิภาคของโลก (human relations area files)

เมื่อมีการรายงานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และมีความสนใจศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม จึงเกิดการจัดทำฐานข้อมูลในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่ระบบคอมพิวเตอร์จะเจริญก้าวหน้ามาก ในระยะแรก การทำฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลเข้าแฟ้ม (files) โดยจัดแบ่งโลกเป็นภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มถูกจัดหมวดหมู่ตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาค ของโลก รายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ถูกจัดเป็นหมวดหมู่ตามหัวข้อ เช่น เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ความเชื่อ ครอบครัว เครือญาติ วิถีชีวิต ฯลฯ

ความแตกต่างทางชาติพันธุ์

ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=23&chap=5&page=t23-5-infodetail02.html
การผสมกลมกลืนของชาติพันธุ์
การผสมกลมกลืนของชาติพันธุ์

ผู้อพยพในค่ายอพยพจะถูกจำกัดสิทธิทางสังคม
ผู้อพยพในค่ายอพยพจะถูกจำกัดสิทธิทางสังคม
ความแตกต่างทางชาติพันธุ์

ในช่วงเวลาที่มีจำนวนประชากรไม่มาก และความหนาแน่นของประชากรต่ำ พื้นที่บนผิวโลกมีอยู่มากพอ ที่จะตอบสนองการขยายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ แต่มาในระยะหลัง เมื่อมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของวัฒนธรรม และชาติพันธุ์ มีผลทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ เมื่อชาติพันธุ์ขยายตัวมาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน การยอมรับซึ่งกันและกัน อาจทำให้เกิดการยืมวัฒนธรรม และการผสมกลมกลืนของชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมได้ แต่ถ้าการขยายตัวของชาติพันธุ์สองชาติพันธุ์ไม่เข้ากัน หรือไม่สอดคล้องกัน ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง ของกลุ่มชาติพันธุ์ก็จะเกิดตามมา ปัญหามักจะ เกิดจากการที่แต่ละฝ่ายต่างก็พยายามรักษา วัฒนธรรมของตน ไม่ยอมรับวัฒนธรรมของ ชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมข้างเคียง

ความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีได้ ถ้าเข้าใจว่าความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุของการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ พอจะสรุปได้ ๕ ลักษณะ คือ

๑. เกิดจากการแบ่งแยกโดยวัฒนธรรมชนชั้น

ในสังคมบางสังคมมีการแบ่งชนชั้น และคนที่อยู่ในชนชั้นต่ำที่สุด จะถือเป็นกลุ่มชน ที่อยู่นอกระบบสังคมนั้น เช่น จัณฑาลในอินเดีย เอทา หรือบูราคูในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น คนที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน แต่ถูกสังคมระบุว่าเป็นคนชนชั้นต่ำ ถือว่าเป็นผู้ที่น่ารังเกียจและไม่ควรอยู่ร่วมสังคมกับสมาชิกส่วนใหญ่ ได้กลายเป็นชนกลุ่มน้อยของสังคมนั้น เป็นผู้ที่ปราศจากศักดิ์ศรี ไม่มีอำนาจ และไม่มีสิทธิทางสังคมเท่าเทียมคนอื่น ปัจจุบัน ทั้งประเทศอินเดียและประเทศญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายยกเลิกชนชั้นจัณฑาลและบูราคู แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีการกีดกันอยู่ความแตกต่างภายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียว กันนี้ ถือเป็นรูปแบบความแตกต่างทางชาติพันธุ์รูปแบบหนึ่ง

๒. เกิดจากการแบ่งแยกจากลักษณะทางภูมิศาสตร์

กลุ่มชนที่มีชาติพันธุ์ต่างจากคนส่วนใหญ่ และตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ห่างไกล เช่น ชาวเขา มักจะถูกตัดขาดจากสังคมพื้นราบ โดยไม่ได้รับข่าวสารอย่างสม่ำเสมอจากคนพื้นราบ ในส่วนกลาง การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และอาจทำให้มีปฏิกิริยาต่อต้านอำนาจรัฐได้ ในกรณีของประเทศไทย รัฐบาลได้พยายามติดต่อสื่อสารกับชาวเขาอยู่เสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ความสัมพันธ์ระหว่างชาวเขากับรัฐบาลไทยจึงไม่ค่อยมีปัญหา

๓. เกิดจากการผนวกดินแดน

การขยายอาณาเขตของประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยการผนวกดินแดนเพิ่ม อาจเกิดจากการตกลงกันตามสนธิสัญญา หรือเกิดจากการขยายดินแดง หลังจากชนะสงคราม ตัวอย่างของการตกลงตามสนธิสัญญาคือ กรณีสหรัฐอเมริกาซื้อดินแดนซึ่งปัจจุบันคือรัฐในภาคตะวันออกเฉียงใต้บางรัฐ ตามสนธิสัญญา เรียกว่า"Louisiana Purchase" ในปี ค.ศ. ๑๘๐๓ หรือการที่สหรัฐอเมริกาซื้อดินแดน ซึ่งปัจจุบันคือ รัฐอลาสกา ในปี ค.ศ. ๑๘๖๗ ส่วนตัวอย่างของการสู้รบระหว่างเพื่อนบ้าน และฝ่ายที่ชนะ สามารถผนวกดินแดนข้างเคียงเพิ่มขึ้น คือ กรณีการขยายอาณาจักรต่างๆ ในบริเวณแหลมทองของทวีปเอเชียได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย ทวาราวดีศรีวิชัย ล้านนา ล้านช้าง อโยธยา ฯลฯ ซึ่งสามารถขยายดินแดนให้กว้างใหญ่ขึ้นได้ โดยการยกทัพสู้รบกัน และฝ่ายที่ชนะเป็นฝ่ายที่สามารถขยายอาณาจักรได้

การผนวกดินแดนในลักษณะของการตกลงกันตามสนธิสัญญาก็ดี ในลักษณะของการสู้รบชนะก็ดี ถ้าดินแดนที่ได้มา ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ที่แตกต่างไปจากกลุ่มเดิมแล้ว ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ย่อมจะเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าลักษณะโดยทั่วไปของคนสองกลุ่มนี้อาจ ไม่แตกต่างกันมากนักก็ตาม

๔. เกิดจากการย้ายถิ่น

ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ อาจมีสาเหตุมาจากการที่คนจำนวนหนึ่งอพยพ ย้ายถิ่นเข้าไปอยู่ในสังคมอื่น โดยที่คนกลุ่มนี้ มีลักษณะทางวัฒนธรรมแตกต่างจากคนในสังคมที่ตนย้ายเข้าไปอยู่ รูปแบบของการย้ายถิ่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น

๑. การอพยพทาสจากแอฟริกาไปทวีป อเมริกาและยุโรป
๒. การอพยพแรงงานเกณฑ์จากบริเวณ หนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง
๓. การว่าจ้างคนงานที่อพยพมาจากที่อื่น
๔. การอพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือการลี้ภัยการเมือง
๕. การรับคนเข้าประเทศโดยการโอนสัญชาติ
๖. การอพยพของชนชาติที่เจริญกว่า ไปยังพื้นที่ที่มีชนชาติที่ด้อยกว่า

การย้ายถิ่นในรูปแบบต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น แตกต่างกันในระดับของการบังคับ ควบคุม ในกรณีที่อพยพทาสจากแอฟริกาไปอเมริกา หรือยุโรป เป็นการอพยพ ที่มีการควบคุมอย่างใกล้ชิด โดยถือว่า มีลักษณะไม่ต่างไปจากนักโทษ ที่ต้องจองจำ และเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด ในทำนองเดียวกันกับการอพยพแรงงานเกณฑ์ ไปไว้ในค่ายกรรมกรอพยพในยุโรป ก็มีการควบคุมค่อนข้างใกล้ชิด แต่ไม่เข้มงวดเท่ากรณีของการ อพยพทาส ส่วนการอพยพคนงานไปทำงาน รับจ้างในประเทศอื่นก็มีลักษณะเข้มงวดน้อยลงมา แต่คนงานเหล่านี้ก็ยังมีลักษณะขาดเสถียรภาพ เนื่องจากไม่รู้ว่าจะต้องไปที่ใดอย่างใด ต้องคอย พึ่งผู้ที่จัดการอพยพอยู่ตลอดเวลา และมักจะไม่ แน่ใจว่าจะมีปัญหาในอนาคตหรือไม่ ส่วนกรณี ของผู้อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นการ อพยพในระดับบุคคลหรือครอบครัว โดยไม่มี การจัดการอย่างเป็นระบบ ผู้อพยพมีปัญหาในช่วงของการเดินทาง และการผ่านด่านต่างๆ แต่เมื่อได้เข้ามาอยู่ในค่ายอพยพผู้ลี้ภัยแล้ว สภาพความเป็นอยู่จะไม่เลวร้ายนัก บางครั้งผู้อพยพจะได้สิทธิพิเศษด้วย ถึงแม้จะมีการควบคุมบ้าง อีกกรณีหนึ่งคือ การโอนสัญชาติ ซึ่งเป็นการอพยพ ในระดับบุคคล ในลักษณะที่ไม่มีการควบคุม การตัดสินใจอพยพเป็นการตัดสินใจส่วนตัว ซึ่งผู้ขอโอนสัญชาติคิดว่า ดีและเหมาะสม แต่เมื่อไปอยู่ ในประเทศใหม่ ผู้อพยพอาจถูกกีดกันหรือถูก จำกัดสิทธิ ให้มีสิทธิทางสังคมด้อยกว่าผู้ที่อยู่ใน ประเทศมาก่อน

การอพยพของชาวตะวันตกจากทวีปยุโรป ไปยังทวีปอเมริกา และทวีปออสเตรเลีย คือ ตัวอย่างของการอพยพของชนชาติที่เจริญกว่า เข้าไปครอบครอง และมีอิทธิพล เหนือกว่าผู้ที่อยู่เดิม และทำให้ผู้ที่อยู่เดิมกลายเป็นชนกลุ่มน้อยได้เช่นเดียวกัน

๕. เกิดจากการตกเป็นประเทศอาณานิคม

ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ในประเทศอาณานิคม มีลักษณะแตกต่างจากกรณีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ทั้ง ๔ กรณี ทั้งนี้ เพราะอาณานิคมเกิดจากการที่มหาอำนาจเข้ามามีอำนาจในการเมืองการปกครองของ ประเทศอื่น ผู้อพยพเข้ามาเป็นผู้ที่มีอำนาจมากกว่า และสามารถออกกฎหมายบังคับต่างๆนานา ทำให้เจ้าของประเทศ ซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่า มีลักษณะของผู้อยู่ใต้ปกครอง และต้องยอมจำนนต่อข้อเรียกร้องของประเทศมหาอำนาจประเทศมหาอำนาจมักจะจับจอง ที่ดินขนาดใหญ่ และว่าจ้างคนพื้นเมืองไปเป็นกรรมกรในไร่นา มีผลทำให้คนพื้นเมืองมีลักษณะเป็นผู้อยู่ใต้การปกครอง หรือลูกจ้างในอาณัติของมหาอำนาจ ทั้งๆ ที่มหาอำนาจเป็นผู้บุกรุกเข้ามาในดินแดนของตน โดยทั่วไปจำนวนของผู้ที่อพยพมาจากประเทศมหาอำนาจมีไม่มากนัก แต่คนกลุ่มนี้ก็สามารถจับจองที่ดิน และทำธุรกิจจนถึงขนาดเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจการเมือง และสังคมได้ อย่างกรณีประเทศซิมบับเว ปรากฏว่า ในปี ค.ศ. ๑๙๓๑ คนผิวขาวเป็นเจ้าของที่ดิน เกือบร้อยละ ๕๐ ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ประชากรผิวขาวมีประมาณร้อยละ ๕ เท่านั้น

กลุ่มชาติพันธุ์

ที่มา:http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=23&chap=5&page=t23-5-infodetail01.html
ความแตกต่างทางเชื้อชาติ
ความแตกต่างทางเชื้อชาติ

งานบวช เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
งานบวช เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

กลุ่มคนที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน จะมีความรู้สึกผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กลุ่มคนที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน จะมีความรู้สึกผูกพันเป็นอัน
อันเดียวกัน
ความหมายของชาติพันธุ์

คำว่า "ชาติพันธุ์" และ "ชาติพันธุ์วิทยา" เป็นคำใหม่ในภาษาไทย การทำความเข้าใจเรื่องชาติพันธุ์ จำเป็นจะต้องพิจารณา เปรียบเทียบกับเรื่องเชื้อชาติ และสัญชาติ อาจเปรียบเทียบเชื้อชาติ สัญชาติ และชาติพันธุ์ได้ดังนี้

เชื้อชาติ (race)

คือ ลักษณะทางชีวภาพของคน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากลักษณะรูปพรรณ สีผิว เส้นผม และตา การแบ่งกลุ่ม เชื้อชาติ (racial group) มักแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ นิกรอยด์ (Negroid) มองโกลอยด์ (Mongoloid) และคอเคซอยด์ (Caucasoid) ในตอนหลังได้เพิ่มออสตราลอยด์ (Australoid) โพลินีเชียน (Polynesian) ฯลฯ อีกด้วย

การแบ่งแยกกลุ่มคนตามลักษณะทางชีวภาพนี้ มีความสำคัญในสังคมที่สมาชิกในสังคมมาจากบรรพบุรุษที่ต่างกัน และมีสีผิว และรูปพรรณสัณฐาน ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ความแตกต่างระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำ ในสังคมที่มีกลุ่มคนที่มีลักษณะทางชีวภาพต่างกันและประวัติความเป็นมาตลอดจน บทบาทในสังคมต่างกัน ความแตกต่างทางชีวภาพอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันได้ แต่ในบางสังคม เช่น สังคมไทย ความแตกต่างทางชีวภาพไม่มีความหมายเท่าใดนัก

สัญชาติ (nationality)

คือ การเป็นสมาชิกของประเทศใดประเทศหนึ่งตามกฎหมาย โดยที่ลักษณะทางชีวภาพและวัฒนธรรมอาจแตกต่างกันได้ การเป็นสมาชิกของประเทศย่อมหมายถึงการเป็นประชาชนของประเทศนั้น ผู้ที่อพยพมาจากที่อื่น เพื่อมาตั้งถิ่นฐานสามารถโอนสัญชาติมาได้ ผู้ที่เปลี่ยนสัญชาติ คือ ผู้ที่เปลี่ยนฐานะจากการเป็นประชาชนของประเทศหนึ่ง มาเป็นประชาชนของอีกประเทศหนึ่ง

ชาติพันธุ์ (ethnicity หรือ ethnos)

คือ การมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูดเดียวกัน และเชื่อว่า สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน เช่น ไทย พม่า กะเหรี่ยง จีนลาว เป็นต้น กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มวัฒนธรรมมีลักษณะเด่นคือ เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน บรรพบุรุษในที่นี้หมายถึงบรรพบุรุษทางสายเลือด ซึ่งมีลักษณะทางชีวภาพและรูปพรรณ (เชื้อชาติ) เหมือนกัน รวมทั้งบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือด และทางวัฒนธรรมพร้อมๆ กันไปเป็นความรู้สึกผูกพันที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของ ชาติพันธุ์ และในขณะเดียวกันก็สามารถเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์นับถือศาสนาเดียวกันความรู้สึกผูกพันนี้อาจ เรียกว่า "สำนึก" ทางชาติพันธุ์ หรือชาติลักษณ์ (ethnic identity)

พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาให้ความหมาย ชาติพันธุ์ (ethnos) ว่าหมายถึง "กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติ และสัญชาติ เข้าด้วยกัน... ถ้าจะใช้ให้ถูกต้องจะมีความหมาย เฉพาะใช้กับกลุ่มที่มีพันธะทางเชื้อชาติและทาง วัฒนธรรม ประสานกันเข้าจนสมาชิกของกลุ่มเอง ไม่รู้สึกถึงพันธะของทั้งสองนี้ และคนภายนอก ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ จะไม่แลเห็นถึงความแตกต่างกัน" และพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาให้ความหมาย ชาติพันธุ์วิทยา (ethnology) ว่า หมายถึง "การพินิจศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมปัจจุบัน หรือวัฒนธรรมเดิม ที่สูญหายไปของกลุ่มมนุษยชาติทั้งหลายในโลก ชาติพันธุ์วิทยาอาจหมายถึง มานุษยวิทยาวัฒนธรรมก็ได้"

การมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์คือ กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกันนั้น อธิบายได้ว่า ในระยะแรกมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีลักษณะคล้ายครอบครัวขนาดใหญ่ เมื่อคนกลุ่มเล็กอาศัยอยู่ด้วยกัน ก็สามารถเข้าใจกัน และประพฤติปฏิบัติต่อกันได้ โดยไม่มีความขัดแย้งเท่าใดนัก เมื่อ สังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น มีคนหลายครอบครัวอาศัย อยู่ในบริเวณเดียวกัน การดำเนินวิถีชีวิตอาจ แตกต่างกันบ้าง ความคิดอาจไม่สอดคล้องกัน และปัญหาเรื่องความขัดแย้งก็คงจะตามมา ฉะนั้นเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จำเป็นต้องมี ระบบระเบียบมากขึ้นต้องมีการตกลงกันว่าอะไร ควรทำอะไรไม่ควรทำ ข้อตกลงเกี่ยวกับวิถีชีวิต การประพฤติปฏิบัติ และความคิดความเชื่อ จึงเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ และเรียกรวมๆ ว่า "วัฒนธรรม" กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกันเรียกว่า เป็นคนชาติพันธุ์เดียวกัน

วัฒนธรรม คือ ระบบสัญลักษณ์ ซึ่งสมาชิกของสังคมตกลงกันว่า จะใช้ร่วมกัน ผู้ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันคือ คนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน มีวัฒนธรรมร่วมกัน และสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน การสืบทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ในกระบวนการเรียนรู้ ที่พ่อแม่ อบรมสั่งสอนลูก ทำให้เกิดการสืบทอดชาติพันธุ์ ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และสังคม จึงเป็นความสัมพันธ์ ที่แยกออกจากกันยาก และเนื่องจากการสืบทอดทางวัฒนธรรม และชาติพันธุ์ เป็นการสืบทอดทางชีวภาพ หรือทางสายเลือด ด้วยความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยทางวัฒนธรรม และปัจจัยทางชีวภาพ จึงแยกออกจากกันยาก และทำให้คนทั่วไปไม่คำนึงถึงข้อ แตกต่างนี้ นอกจากนี้ เนื่องจากกลุ่มทางชีวภาพ หรือกลุ่มเชื้อชาติครอบคลุมหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ความไม่ชัดเจนจึงอาจเกิดขึ้นได้

บางครั้งคนไทยใช้คำว่า เชื้อชาติ ในภาษาพูดทั่วๆ ไป ในความหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ว่า คือ กลุ่มคนที่มีจุดกำเนิดของบรรพบุรุษร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน และพูดภาษาเดียวกัน ตลอดจนมีความรู้สึกในเผ่าพันธุ์เดียวกัน ตัวอย่างของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ คือ กลุ่มคนจีน กลุ่มคนไทย กลุ่มคนพม่า กลุ่มคนลาว กลุ่มคนเขมร กลุ่มคนกะเหรี่ยง กลุ่มคนอินเดีย กลุ่มคนม้ง ปัจจัยสำคัญ ในการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์คือ ความสำนึกของคนในกลุ่มนั้นว่า มีชาติพันธุ์ใด ปัจจัยทางด้านภาษาอย่างเดียว ไม่สามารถกำหนดชาติพันธุ์ได้ ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดที่สำคัญกว่า ทั้งนี้ เพราะคนจีน หรือคนอินเดีย หรือคนกะเหรี่ยง มี จิตสำนึกในความเป็นคนจีน หรือความเป็นคน อินเดีย หรือความเป็นคนกะเหรี่ยง โดยคนทั้ง ๓ กลุ่มนี้ต่างรวมกันโดยเชื้อชาติ สัญชาติ และ ชาติพันธุ์ แล้วก็มีภาษาพูดหลายภาษา คนจีนที่พูดภาษาไหหลำ กวางตุ้ง และฮกเกี้ยน ต่างก็เรียกตัวเองว่า เป็นคนจีน คนอินเดียที่พูดภาษา ฮินดี เบงกาลี และทมิฬ ต่างก็เรียกตัวเองว่า เป็นคนอินเดีย และคนกะเหรี่ยงไม่ว่าจะเป็นเผ่า โปว์หรือเผ่าสะกอ ต่างก็เรียกตัวเองว่าเป็นคน กะเหรี่ยง ฉะนั้น การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์จึงขึ้น อยู่กับความสำนึกของตัวเองว่าเป็นคนกลุ่มใด

นอกจากนี้ คนบางคนยังไม่อาจจะยึดในกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ตลอดไป เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ก็มีความสำนึกอย่างหนึ่ง เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ก็มีความสำนึกอีกอย่างหนึ่ง เช่น คนจีนที่เกิดในประเทศไทย และเรียน ที่โรงเรียนคนไทย เมื่ออยู่ในหมู่เพื่อนที่โรงเรียน ก็มักจะมองว่าตัวเองเป็นคนไทย แต่เมื่อกลับบ้าน ไปอยู่ในหมู่ญาติพี่น้อง ซึ่งพูดภาษาจีน ก็จะมองว่า ตัวเองเป็นคนจีน ชาวเขาเผ่าต่างๆ ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน เขาอาจจะมองว่า ตัวเองเป็นชาวเขา หรือ "คนเมือง" (คนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่พื้นราบในภาคเหนือ) หรือคนไทยก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม คนเชื้อสายกุยใน ประเทศไทยอาจจะเป็นคนกุย คนอีสาน หรือ คนไทยก็ได้เช่นเดียวกัน

การที่คนๆ เดียวมีความรู้สึกว่า เป็นสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด และไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือถูก แต่เป็นการแสดงให้เห็นว่า ความสำนึกในเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ และไม่ถาวร เมื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีความสำนึกในกลุ่มชาติพันธุ์อย่างชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง คนกลุ่มนั้นก็มักจะ เป็นคนที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และสัญชาติ สอดคล้องกัน

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจและสังคมของกัมพูชา

1. กัมพูชายังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีความยากจนมากประเทศหนึ่ง ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงให้ความสำคัญอย่างสูงสุดต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศเพื่อมุ่งขจัดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทให้ดีขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ (National Strategic Development Plan - NSDP) ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2549 - 2553 ยุทธศาสตร์ลดความยากจนแห่งชาติ (National Poverty Reduction Strategy - NPRS) รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (Cambodia’s Millennium Development Goals - CMDGs) ซึ่งล้วนแล้วแต่มีจุดมุ่งหมายให้กัมพูชาก้าวเดินไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงและยั่งยืน
2. รัฐบาลปัจจุบันซึ่งนำโดยสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายและประกาศใช้ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม (จัตุโกณ) เพื่อการเจริญเติบโต การจ้างงาน ความเสมอภาคและประสิทธิภาพในกัมพูชา (“Rectangular Strategy” for Growth, Employment, Equity and Efficiency in Cambodia) ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ก. หลักการภายใต้ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม
• เป็นวาระแห่งชาติของกัมพูชาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่กัมพูชากำลังเผชิญอยู่และการพัฒนาศักยภาพของกัมพูชา ได้แก่ (1) การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2) ส่งเสริมการสร้างงาน (3) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการของรัฐบาลเพื่อประกันความเท่าเทียมกันและความเป็นธรรมในสังคม (4) การเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของรัฐบาลในการดำเนินโครงการปฏิรูปในทุกสาขาเพื่อลดความยากจนและบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
• ความสำคัญของยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม ได้แก่ การมุ่งพัฒนาประเทศเพื่อต่อยอดจากยุทธศาสตร์สามเหลี่ยม (ตรีโกณ หรือ Triangular Strategy) ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของการดำเนินงานของรัฐบาลชุดก่อน โดยมีวัตถุประสงค์ 9 ประการ ได้แก่ (1) การขจัดความยากจนและหิวโหย (2) การจัดระบบการศึกษาขั้นต้น 9 ปี (3) การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ (4) การลดอัตราการตายของทารก (5) การปรับปรุงระบบสาธารณสุข (6) การต่อสู้กับโรคติดต่อร้ายแรง (HIV/AIDS มาลาเรีย ฯลฯ) (7) การปกป้องสิ่งแวดล้อม (8) การสร้างหุ้นส่วนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา (9) การเก็บกู้ทุ่นระเบิดและการช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย ทั้งนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานของการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยมุ่งพัฒนาและนำประเทศไปสู่การเติบโต การจ้างงาน ความเท่าเทียมกัน และความมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกื้อกูลต่อการปฏิรูป ทางการเมือง และความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล
ข. โครงสร้างของยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยม ประกอบด้วย
• ยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) โดยมุ่งเน้นการปฏิรูป 4 ประการ ได้แก่ (1) การต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง (2) การปฏิรูปกฎหมายและการศาล (3) การบริหารสาธารณะ (4) การปฏิรูปกองทัพ โดยเฉพาะการลดจำนวนกำลังพลและหันไปเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรและอาวุธยุทโธปกรณ์
• สร้างเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ (1) ความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพทางการเมือง และระเบียบทางสังคม (2) การสร้างหุ้นส่วนด้านการพัฒนาซึ่งรวมถึง ภาคเอกชน ประเทศ
ผู้บริจาค และประชาชน (3) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการคลัง (4) การบูรณาการกัมพูชาเข้าสู่ภูมิภาคและโลก
• ยุทธศาสตร์สี่เหลี่ยมยังได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ (1) ด้านการเกษตร (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (3) การพัฒนาภาคเอกชนและสนับสนุนการสร้างงาน (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสาธารณสุข
ค. ยุทธศาสตร์การลดความยากจนของรัฐบาล ได้แก่
• การเสริมสร้างความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพ และจัดระเบียบทางสังคมโดยใช้มาตรการซึ่งสนับสนุนกฎเกณฑ์และความถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมาย การเคารพในสิทธิมนุษยชนและความเป็นประชาธิปไตย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางการเมืองและความมั่นคงให้นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว
• การรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนประมาณร้อยละ 5 - 7 ต่อปี
• การส่งเสริมการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันระหว่าง คนรวยกับคนจน ระหว่างเมืองกับชนบท และระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง
• การพัฒนาการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ปัจจุบันกัมพูชากำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจไว้ 8 ประการ ได้แก่ (1) การฟื้นฟูระบบชลประธานเพื่อการเกษตร (2) การพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคม (3) การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (5) การสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (6) การพัฒนาการท่องเที่ยว (7) การสำรวจและใช้ทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน และ (8) การพัฒนาการค้า การเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดี โดยธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.5 และ 9 ในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ อันเป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีมากขึ้น การไหลเข้าของการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายด้านการลงทุนของภาครัฐ และผลผลิตการเกษตรขยายตัว ขณะที่อุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ การก่อสร้าง และการท่องเที่ยวก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง