วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีศึกษาชาติพันธุ์

ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=23&chap=5&page=t23-5-infodetail03.html
กลุ่มชาวเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม
กลุ่มชาวเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม
วิธีการศึกษาชาติพันธุ์

ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้ที่ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างจริงจัง และเป็นระบบ มักเป็นนักมานุษยวิทยา เนื่องจากสาขาวิชามนุษยวิทยา จะเน้นศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์ แต่นักสังคมวิทยา และนักรัฐศาสตร์ จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์มากกว่า กล่าวได้ว่า วิธีการศึกษาทำได้หลายวิธี อาจเปรียบเทียบกันได้ ดังนี้

ชาติพันธุ์วิทยา (ethnology)

ตามความหมายของคณะกรรมการบัญญัติศัพท์สังคมวิทยาคือ การศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มมนุษยชาติ และบางครั้งเรียกว่า มานุษยวิทยาวัฒนธรรม วิธีการนี้เป็นวิธีการของนักมานุษยวิทยารุ่นแรกๆ ที่ต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มคน หรือกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างลึกซึ้งรอบด้าน ใช้เวลาศึกษาที่ยาวนานเพื่อให้ครอบคลุมทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง รายงานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ในลักษณะนี้เรียกว่า "ชาติพันธุ์วรรณนา" หรือ "ชาติพันธุ์พรรณนา"(ethnography) ซึ่งมักเป็นการรายงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชนดั้งเดิม หรือกลุ่มชนที่ไม่มีตัวหนังสือ

การศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม (cross-cultural comparison)

เมื่อมีการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ แล้ว ก็มีการศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อทำความเข้าใจวัฒนธรรมเชิงเปรียบเทียบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูการแพร่กระจายของวัฒนธรรม มากกว่าที่จะเปรียบเทียบว่าวัฒนธรรมใดเจริญกว่ากัน นักมานุษยวิทยายืนยันว่า สังคม วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ มีอัตลักษณ์เฉพาะที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และความจำเป็นของสังคมนั้นๆ ซึ่งไม่ควรที่จะเปรียบเทียบว่าวัฒนธรรมใดดีกว่ากัน หรือเจริญกว่ากัน การศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรมจึงเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในกระบวน การแพร่กระจายของวัฒนธรรม โดยไม่ได้เปรียบเทียบถึงความเจริญ

การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับชาติพันธุ์ในภูมิภาคของโลก (human relations area files)

เมื่อมีการรายงานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และมีความสนใจศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม จึงเกิดการจัดทำฐานข้อมูลในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่ระบบคอมพิวเตอร์จะเจริญก้าวหน้ามาก ในระยะแรก การทำฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลเข้าแฟ้ม (files) โดยจัดแบ่งโลกเป็นภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มถูกจัดหมวดหมู่ตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาค ของโลก รายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ถูกจัดเป็นหมวดหมู่ตามหัวข้อ เช่น เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ความเชื่อ ครอบครัว เครือญาติ วิถีชีวิต ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น