วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ภัยธรรมชาติ


ภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย


ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับประเทศของตัวเองหรือเรียกได้ว่าทุกๆประเทศในทั่วโลก เพราะเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นแล้วนั้นก็ยากที่จะรับมือได้ ยังส่งผลกระทบและส่งผลเสียต่อสิ่งต่างในประเทศได้ แล้วเมื่อเกิดกับประเทศๆหนึ่งแล้ว ก็มักจะส่งผลให้ประเทศรอบข้างได้รับผลกระทบนั้นไปด้วย โดยความรุนแรงที่ประเทศรอบข้างจะได้รับนั้นก็ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของประเทศ ภูมิประเทศของประเทศนั้นๆ และยังเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ซึ่ง แม้ว่าเราจะรู้ว่าเมื่อเกิดกับประเทศนี้แล้วเราจะโดนไปด้วย แต่เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นมาถ้ามันเกิดเร็วอย่างที่ไม่คาดคิดเราก็ไม่สามารถรับมือได้ทันแต่ถ้าเกิดช้า ประเทศนั้นๆก็จะได้รับผลเสียที่น้อยลง แต่ปัจจุบันความรุนแรงของภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเร็วมากยากต่อการรับมือในหลายๆประเทศจึงได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก



ตัวอย่างเช่น การเกิดภูเขาไฟระเบิดในไอส์แลนด์ โดยไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดอย่างกระทันหันและเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้สนามบินซูริคปิด งดเที่ยวบินเข้า-ออกโดยไม่มีกำหนด เช่นเดียวกับสนามบินอื่นๆ ในยุโรป เช่นอังกฤษ สกอตแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรีย เดนมาร์ก เบลเยี่ยม สวีเดน ฯลฯ เหตุจากภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งไอย์ยาฟยัลลาโยกูล (Eyjafjallajokull) ตอนใต้ของเกาะไอซ์แลนด์ระเบิดปะทุขึ้นฟ้าสูงถึง 8 กิโลเมตร ฝุ่นขี้เถ้าลอยสูงกว่า 6,000 เมตร และฟุ้งกระจายไปทั่วประเทศและหลายประเทศในยุโรปตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมา กลุ่มควันและเถ้าละอองปลิวฟุ้งขึ้นไปบนท้องฟ้าก่อให้เกิดอันตรายกับเครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องบินโดยสาร ดังนั้นหลายประเทศในทวีปยุโรปจึงต้องประกาศปิดน่านฟ้า ห้ามเครื่องบินขึ้นลงตามสนามบินในประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้โดยสารตกค้างเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้โดยสารที่จะเดินทางไปประเทศต่าง ๆ ในอีก 6 ทวีป นับเป็นผลกระทบต่อการสัญจรทางอากาศครั้งใหญ่สุด นับตั้งแต่เหตุวินาศกรรมปี 2544 เป็นต้นมา เที่ยวบินในภูมิภาคยุโรปต้องยกเลิกเที่ยวบินเฉพาะเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รวมแล้วประมาณ 17,000 เที่ยวบิน



การปะทุของภูเขาไฟในไอส์แลนด์ครั้งนี้ เกิดห่างจากเมืองเรยคยาวิกไปทางตะวันออกราว 120 กม.ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบไม่ถึงหนึ่งเดือนจากวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังเคยสงบเงียบมาเกือบ 200 ปี ซึ่งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์มองว่ารุนแรงกว่าครั้งแรกถึง 10-20 เท่า ลาวาที่ปะทุทำให้ธารน้ำแข็งละลายและคาดว่าจะเกิดสภาวะเสี่ยงอุทกภัยเป็นบริเวณกว้าง




ดังที่ได้เห็นภาพและข้อมูลข่าวสารที่ฉันได้กล่าวไปทั้งหมดนี้ทำให้เราตระหนักได้ว่าเราทุกคนควรที่จะไม่ประมาทแล้วทำใจเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น โดยไม่รู้ว่าเราจะประสบกับภัยธรรมชาตินี้เมื่อใดซึ่งปัจจุบันเรามักจะได้รับรู้ข่าวจากประเทศต่างๆที่เกิดภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง

น.ส.กัณฐมณี ทองขัด เลขที่ 3 ม.5/8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น