วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

POMPEII อาณาจักรมัจจุราชกลืน

ในอดีต ปอมเปอี (POMPEII) เป็นเมืองชายทะเลอันงดงาม ที่อยู่ริมอ่าวเนเปิลส์ทางตอนกลางของอิตาลี 
แต่แล้วในปี ค.ศ.79 ภูเขาไฟวีซูเวียส (VESUVIUS) 
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมือง ได้ระเบิดพ่นลาวาอันร้อนแรง 
รวมทั้งไอก๊าซพิษ และขี้เถ้าลงมาถล่มท่วมทับปอมเปอี 
ฝังร่างชาวเมืองนับพันคนไว้ทั้งเป็น เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ 
ที่มาเยือนโดยไม่รู้ตัว 

   
สาเหตุการระเบิดมหากาฬของวีซูเวียส เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก โดยเปลือกโลกแอฟริกาทางตอนใต้ ได้เคลื่อนขึ้นมาทางเหนือและชนกับเปลือกโลกยูเรเชียน (ยุโรปกับเอเชีย) เมื่อแผ่นหินบดอัดกัน บางส่วนก็จมลงสู่เบื้องล่าง ลึกลงไป...ลึกลงไปสู่ใจกลางโลกที่ยังร้อนจัด จนกระทั่งหลอมละลายกลายเป็นลาวาที่เบากว่า แล้วก็พุ่งขึ้นมายังปากปล่อง ก่อความพินาศไปทุกสารทิศ ปอมเปอีที่รุ่งเรืองมายาวนานกว่า 800 ปี ต้องจมหายไปภายใต้ขี้เถ้าที่ตกลงมาทับถมสูงถึง 10 เมตร ภายในชั่วเวลา 2 วัน รายละเอียดของการระเบิดและความพินาศครั้งนี้ ได้มีผู้ที่เห็นเหตุการณ์คือ ไพลนีน้อย (PLINY THE YOUNGER) เขาได้บันทึกไว้และเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงได้เคยผ่านตาแล้ว จึงขอข้ามไปถึงเรื่องราวการขุดค้นเมืองนี้ในกาลต่อมา ซึ่งได้พบกับสิ่งที่น่ารู้น่าสนใจหลายประการ ยิ่งกว่าการขุดค้นเมืองโบราณใดๆ ของโลก 



"ความจริงแล้ว การขุดค้นปอมเปอีมีขึ้นหลัง จากเมืองถูกภูเขาไฟถล่มไม่กี่วัน" 
โดย......พลเมืองปอมเปอีเอง
นั่นคือผู้ที่หนีเอาชีพรอดไปได้ ได้หวนกลับคืนมาเพื่อสำรวจ ตรวจดูทรัพย์สมบัติของตน แต่อะไรจะเหลือให้เห็นเล่า ไม่ว่า ถนน วัดวาอาราม โรงละคร ตลอดจนที่อยู่ อาศัยทั้งหมด ล้วนจมอยู่ใต้ขี้เถ้าหนา 10 เมตรดังกล่าว บางคนพยายามขุดอุโมงค์ทะลุขี้เถ้า ที่ทับถมเพื่อเข้าไปสู่บ้านของตน เพราะอีตอนรีบหนีอย่างฉุกละหุกนั้น ได้ทิ้งข้าวของมีค่าไว้มากมาย แต่ความยากลำบากในการขุดค้นทำให้พวกเขาต้องท้อถอยยอมแพ้ หากทว่าด้วยความไม่อยากอพยพไปอยู่ที่อื่น
พวกเขาจึงใช้แผ่นดินที่อุดมด้วยปุ๋ยขี้เถ้านั้นทำฟาร์มขนาดใหญ่โต หรือทำไร่องุ่นเสียเลย พอหลายชั่วอายุคนผ่านไป คราวนี้ทุกคนจึงลืมสนิทจริงๆ ว่าพื้นดินเบื้องล่างนั้นเดิมเคย
เป็นเมืองอันรุ่งเรืองมาก่อน


"1600 ผ่านไป"
     กาลเวลาล่วงเลยมากว่า 1,600 ปี คือใน ค.ศ. 1754 ชาวไร่คนหนึ่งได้ขุดหลุมในที่ดินของตน แล้วพบรูปสลักหินอ่อนหลายชิ้น การค้นพบนี้ทำให้ ชาร์ลส์ที่ 3 กษัตริย์แห่งเนเปิลส์สนพระทัย เพราะพระองค์โปรดการตกแต่งวังด้วยรูปประติมากรรมสไตล์โรมัน จึงมีบัญชาให้ขุดหาต่อไปในแถบ
บริเวณวีซูเวียส 
 และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น นักโบราณคดีบางคนก็ได้เดินทางมาศึกษาค้นคว้าในปอมเปอี แรกนั้น พวกเขาคิดว่าสิ่งที่ค้นพบ เป็นเพียงซากอาคารโบราณธรรมดา แต่แล้วใน ค.ศ. 1763 ก็ได้พบจารึกแผ่นหนึ่ง ซึ่งระบุว่าอาคารที่ฝังจมอยู่นั้น ที่แท้เป็นส่วนหนึ่งของปอมเปอี นครที่หายสาบสูญไปช้านาน จากนั้นจึงได้มีการขุดค้นกันขนานใหญ่ ตลอดมาจนถึงเดี๋ยวนี้


"สิ่งซึ่งถือกันว่าน่าสนใจที่สุดจากการค้นพบ" 
ก็คือซากมนุษย์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นชาวนครปอมเปอี โดยใน ค.ศ. 1860 เป็นต้นมา กุยเซปเป้ ฟิโอเรลลิ นักโบราณคดีอิตาเลียนได้นำเอาวิธีจำลองร่างต่างๆ ด้วยการใช้ปูนปลาสเตอร์เหลวเทลงไปในโพรงดินที่ว่างเปล่า ซึ่งคาดว่าเป็นร่างมนุษย์ที่ถูกฝัง แต่วันเวลาที่ผ่านไป ทำให้เนื้อหนังสูญสลายไปหมด เหลือเพียงกระดูก และโพรงอากาศที่มีลักษณะมนุษย์ในอิริยาบถต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากเถ้าภูเขาไฟนั้นอัดแน่นจนคงรูปโพรงอยู่ได้นั่นเอง สิ่งที่ได้ออกมานั้นน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง  เพราะเมื่อปูนปลาสเตอร์แห้ง แกะออกมาแล้วปัดเป่าเอาขี้ดินกับเศษใบไม้ใบหญ้าที่ติดอยู่ออกไป 
ไฟล์:Pompeii Garden of the Fugitives 02.jpg
สิ่งที่เห็นก็คือรูปร่างของมนุษย์ "ในสภาพเกือบสมบูรณ์ที่สุด" นอกจากนี้ สิ่งของสมบัติที่พบอยู่ข้างกายของเขานั้น ก็ยังช่วยบอกฐานะของแต่ละร่างด้วย เช่น โครงกระดูกที่มีตุ้มหู หรือสร้อยทองคำ ก็ย่อมชี้ชัดว่าเขาผู้นั้นอยู่ในตระกูลมั่งคั่ง ส่วนทาสนั้นก็ง่ายที่จะระบุ โดยเห็นได้จากโซ่ที่ล่ามข้อมือไว้นั่นเอง ในยามที่รู้ว่าภัยมาถึงตัว ชาวปอมเปอีทุกคนก็จะฉวย คว้าเอาสิ่งมีค่าที่สุดของตนติดตัวไปด้วย บางซากถึงกับมีลูกกุญแจบ้านอยู่ในมือ 


"ซากที่พบยังได้บอกอีกว่าในชั่วโมง แห่งวิกฤตินั้นพวกเขากำลังทำอะไร และตายอย่างไร"
ไฟล์:Karl Briullov, The Last Day of Pompeii (1827–1833).jpg
หลายคนเสียชีวิตอยู่ภายในบ้าน เนื่องจากเมื่อภูเขาไฟระเบิด และพ่นเถ้าถ่านโปรยปราย ลงมาราวห่าฝนนั้น พวกเขาคิดว่า การหลบอยู่ภายในบ้านจะปลอดภัยที่สุด แต่ เป็นความคิดที่ผิด เพราะขี้เถ้านั้นมีปริมาณมหาศาล ท่วมคลุมเมืองถึง 10 เมตร เมื่อทับถมอยู่บนหลังคา อะไรจะทนทานอยู่ได้ หลังคาจึงหักพังลงมาทับพวกเขาเหล่านั้น
เสียชีวิต 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น